language Amazing Thailand
ดำน้ำ VS 7 Greens
การดำน้ำเป็นกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงการรบกวนและการทำลายระบบนิเวศไม่ได้ แต่ก็อยากให้จำกัดผลกระทบที่จะมีต่อธรรมชาติใต้ทะเลให้น้อยที่สุด

    การสร้าง Green Heart ในฐานะของ นักท่องเที่ยว

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือก่อกวนแนวปะการังและสัตว์ทะเล
    ใต้น้ำทุกชนิดอย่างเด็ดขาด
  • การให้อาหารปลาด้วยขนมปังก็เป็นการทำลายปะการังทางอ้อม เพราะปกติปลาตามแนวปะการังพวกนี้จะกินสาหร่ายที่ติดอยู่ตามปะการัง ซึ่งถือเป็นการทำความสะอาด
    ปะการังไปในตัว แต่เมื่อปลาอิ่มจากขนมปังที่คนให้ ก็จะไม่ค่อยกินสาหร่าย ทำให้ปะการังได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและตายเนื่องจากสาหร่ายปกคลุม
  • ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลบนเรือเท่านั้น

    การสร้างGreen Logisticsในฐานะของ นักท่องเที่ยว

  • ดำน้ำแบบ LiveAboard จะช่วยลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินเรือไปกลับ จากเกาะหลายๆ รอบ

    การสร้าง Green Activity ในฐานะของ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว

  • ควรบรรยายการดำน้ำเชิงนิเวศและอนุรักษ์ทรัพยากร บนเรือก่อนที่จะเริ่มดำน้ำ พร้อมอธิบายเหตุผลและ ความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือจากนักท่องเที่ยว ให้ปฏิบัติตาม
  • คอยเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียหาย หรือสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • พยายามอย่าจัดโปรแกรมดำน้ำซ้ำๆ อยู่ในบริเวณเดิมๆ พร้อมๆ กัน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ธรรมชาติ จะถูกทำลายมากขึ้น หากมีนักดำน้ำมากเกินกว่าที่ระบบนิเวศจะรับไหว
  • ระวังอย่าทิ้งสมอในบริเวณที่มีแนวปะการัง

    การสร้าง Green Plus ในฐานะของ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว

  • จัดตั้งทีมอาสาสมัครเก็บขยะ ตัดอวน ฟื้นฟูแนวปะการัง ปล่อยปลา หอยมือเสือหรือสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่มี ผลช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศ

    การสร้าง Green Community ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว

  • กำหนดขีดความสามารถการรองรับได้ทางการ ท่องเที่ยว (Tourism Carrying Capacity) ของแหล่ง ทั้งด้านจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนจุดที่เปิดให้ดำน้ำ ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานทางราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและฟื้นฟูธรรมชาติทั้งใต้น้ำบนเกาะ จัดให้ยกเลิกการทำประมงแบบผิดกฎหมายอย่าง เด็ดขาด โดยเฉพาะในบริเวณเขตอุทยานฯ เช่น การใช้ระเบิด การลากอวนลึกไปโดนแนวปะการัง การวางลอบบนแนวปะการังและการใช้สารเคมี เป็นต้น เพิ่มทุ่นลอยจอดเรือในบริเวณที่มีแนวปะการัง จัดให้มีการฝึกอบรมหรือส่งผู้ที่เกี่ยวข้องไปฝึกอบรมให้มีความรู้ ทักษะ และยกระดับมาตรฐานของการบริการดำน้ำในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการกู้ภัย

    การสร้าง Green Service ในฐานะของ นักท่องเที่ยว

  • เลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น อาหาร เครื่องดื่มต้อนรับ (น้ำสมุนไพร น้ำมะพร้าว ไวน์ผลไม้ ฯลฯ)
  • อาหารให้บริการบนเรือจะต้องบรรจุในภาชนะที่ใช้งานได้อีกครั้ง เช่น ปิ่นโต หรือภาชนะ อื่นๆที่ไม่ใช่กล่องโฟมหรือถุงพลาสติก
  • ต้องมีความรับผิดชอบในการกำจัดของเสียทั้งหมด และขยะอย่างถูกวิธีจากการเดินเรือในแต่ละครั้ง

    การสร้าง Green Attraction ในฐานะของแหล่งท่องเที่ยว

  • ให้ความรู้กับชาวประมงในการใช้อวนนอกพื้นที่ แนวปะการัง การจัดการของเสียและขยะ (Solid Waste) ตั้งแต่เรื่อง การลดปริมาณของเสียและขยะ ให้น้อยที่สุดโดยเฉพาะ ของเสียและขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ไปจนถึงการแยกขยะของเสียและการกำจัดขยะอย่าง ถูกวิธีและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด