การสร้าง Green Heart ในฐานะของ นักท่องเที่ยว
- หากพายไปบริเวณที่มีปะการังน้ำตื้น ให้ระมัดระวังท้องเรือไปเสียดสีกับแนวปะการังสร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติ
- ระวังการสร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติโดยการใช้พายค้ำยัน
- ในการพายเรือไปดูสัตว์น้ำหรือสัตว์ป่า ไม่ควรเข้าไปใกล้เกินไป
- อย่าให้อาหารสัตว์ป่าเพราะจะให้ระบบนิเวศในบริเวณนั้นเปลี่ยนไป
- ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลตามประเภทในที่ที่จัดให้ และหากสามารถ
นำขยะของตัวเองออกจากแหล่งท่องเที่ยวไปจัดการเองได้ โดยเฉพาะขยะที่ย่อยสลายยาก จะช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
การสร้าง Green Service ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำเตรียมพร้อมคอยกู้ภัยตามเส้นทางพายเรือ
จัดให้มัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ เช่น ระบบนิเวศป่าชายเลน
- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดขึ้น
เท่าที่จำเป็น โดยมีปริมาณหรือขนาดที่เหมาะสมกับขีดความสามารถรองรับได้ของบริเวณนั้น เช่น ห้องน้ำ ลานจอดรถ ท่าเทียบเรือ เป็นต้น
การสร้าง Green Activity ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- มีข้อมูลหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับชุมชนแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนชาวเล หรือริมแม่น้ำ
- กำหนดขีดความสามารถการรองรับได้ทางการท่องเที่ยว (Tourism Carrying Capacity) ของแหล่งทั้งด้านจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนรอบที่เปิดให้บริการล่องแก่ง โดยเฉพาะแหล่งล่องแก่งที่ใช้กระแสน้ำจากเขื่อน
- กำหนดระเบียบหรือข้อปฏิบัติของชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้โดยการแจ้งหรือชี้แจงให้นักท่องเที่ยวรับทราบในโอกาสแรกที่เดินทางมาถึง
- จัดให้มีการฝึกอบรมหรือส่งผู้ที่เกี่ยวข้องไปฝึกอบรมให้มีความรู้ ทักษะ และยกระดับมาตรฐานของการบริการด้านต่างๆ
การสร้าง Green Logistics ในฐานะของ นักท่องเที่ยว
- เดินทางด้วยรถไฟแทนการนั่งเครื่องบิน หรือหากต้องขับรถไปเองก็ควรนำรถไปให้น้อยที่สุด โดยใช้วิธี Car Pool
- ใช้บริการรถรับส่งของผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนคันรถที่ต้องใช้ เป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การสร้าง Green Community ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- สนับสนุนให้พนักงานต้อนรับและพนักงานบริการอื่นๆ
แต่งกายด้วยชุดที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น
- ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยว
กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกเหล่านั้น
การสร้าง Green Plus ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- จัดตั้งทีมอาสาสมัครพายเรือคายัค-แคนูเก็บขยะตามลำน้ำ และสองชายฝั่งให้บ่อยครั้งที่สุด
การสร้าง Green Attraction ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- การจัดการของเสียและขยะ (Solid Waste) ตั้งแต่เรื่องการลดปริมาณของเสียและขยะ ให้น้อยที่สุดโดยเฉพาะของเสีย
และขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ไปจนถึงการ
แยกของเสียและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด