การสร้าง Green Heart ในฐานะของ นักท่องเที่ยว
- ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลตามประเภทในที่ที่จัดให้ และหากสามารถนำขยะของตัวเองออกจากแหล่งท่องเที่ยว
ไปจัดการเองได้ ก็โดยเฉพาะขยะที่ย่อยสลายยากจะช่วย
ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
- หากมีการรับประทานอาหาร หรือประกอบอาหารในป่าควรเลือกรายการอาหารที่สะดวกทำง่าย และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องกระป๋อง ภาชนะประเภทกล่องโฟม ขวดน้ำ
พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวเพื่อลดขยะทุกครั้งที่เก็บแคมป์ ควรดูแลความสะอาด พยายามให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด
- ตั้งเต็นท์พักแรมในบริเวณที่จัดให้เท่านั้น
การสร้าง Green Service ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- เลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น อาหาร เครื่องดื่มต้อนรับ (น้ำสมุนไพร น้ำมะพร้าว ไวน์ผลไม้ ฯลฯ) การใช้จานชามดินเผา
เครื่องจักสาน เป็นต้น
- กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ลดผล
กระทบต่อระบบนิเวศธรรมชาติน้อยที่สุด
การสร้าง Green Activity ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- แจ้งข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรมปีนผาให้นักท่องเที่ยวรับทราบ พร้อมอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตาม
- คอยเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียหาย หรือสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม
การสร้าง Green Logistics ในฐานะของ นักท่องเที่ยว
- เดินทางด้วยรถไฟแทนการนั่งเครื่องบิน หรือหากต้องขับรถไปเองก็ควรนำรถไปให้น้อยที่สุด โดยใช้วิธี Car Pool
- ใช้บริการรถรับส่งของผู้ประกอบการปีนผา ซึ่งจะช่วยลดจำนวนคันรถที่ต้องใช้ เป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การสร้าง Green Community ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- กำหนดขีดความสามารถการรองรับได้ทางการท่องเที่ยว
(Tourism Carrying Capacity) ของแหล่งทั้งด้านจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนเส้นทางที่เปิดให้ปีนผา
- ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานทางราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและบำรุงรักษาสถานที่
- จัดให้มีการฝึกอบรมหรือส่งผู้ที่เกี่ยวข้องไปฝึกอบรมให้มีความรู้ ทักษะ และยกระดับมาตรฐานของการบริการปีนผาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการกู้ภัย
- จัดให้มีการเดินทางที่ปลอดมลภาวะสำหรับนักท่องเที่ยว
หรืออาจจัดให้มียานพาหนะที่ไม่สร้างมลพิษ เช่น
การใช้รถม้า เกวียน หรือจักรยาน เป็นต้น
- จัดให้มีการฝึกอบรมหรือส่งผู้ที่เกี่ยวข้องไปฝึกอบรม
ให้มีความรู้ ทักษะ และยกระดับมาตรฐานของการบริการด้านต่างๆ
การสร้าง Green Plus ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- จัดตั้งทีมอาสาสมัครทำความสะอาดบริเวณหน้าผา
และรอบๆ พื้นที่
การสร้าง Green Attraction ในฐานะของ แหล่งท่องเที่ยว
- การจัดการของเสียและขยะ (Solid Waste) ตั้งแต่
เรื่องการลดปริมาณของเสียและขยะ ให้น้อยที่สุดโดยเฉพาะของเสียและขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ไปจนถึงการแยกขยะของเสียและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด