ทะเลไทยมีสองฝากฝั่ง คือ ฝั่งอันดามันที่เป็นทะเลลึกเปิดกว้างออกสู่มหาสมุทรอินเดีย และฝั่งอ่าวไทยที่มีลักษณะคล้ายทะเลปิดอยู่ภายใน มีแหลมญวณและหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนิเซียและฟิลิปปินส์เป็นแนวห้อมล้อมอยู่ ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางจนคร่ำหวอด หรือถ้าเป็นนักดำน้ำลึกก็จะสามารถแยกแยะทะเลทั้งสองฝั่งนี้ได้อย่างแม่นยำ เพราะพืชและสัตว์ใต้น้ำของแต่ละฝั่งนี้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยทะเลอันดามันมีสีสันของน้ำทะเล หาดทราย รวมตลอดไปถึงสีสันของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้ทะเลที่มีสีสันกว่าทางฝั่งอ่าวไทย
การดำน้ำชมโลกใต้ทะเลแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
การดำน้ำตื้น (Snorkeling หรือ Skin Diving) เป็นการดำน้ำตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 0.9 เมตร ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของปะการังหลายชนิดที่ อุดมสมบูรณ์และสวยงาม มีพืชและสัตว์ ใต้น้ำประเภทอื่น ๆ ประกอบกระแสน้ำ ไม่รุนแรง และน้ำใสสะอาดเป็นกิจกรรมที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพืชและสัตว์ใต้น้ำ ได้ใกล้ชิดและเพลิดเพลินกับธรรมชาติใต้ทะเลที่มีสีสันสวยงาม โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มีเพียงแค่หน้ากากดำน้ำ ท่อหายใจ ชูชีพและตีนกบ
การดำน้ำลึกแบบ Scuba (Self-contained Underwater Breathing Apparatus) เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลินและใกล้ชิดกับธรรมชาติที่มีสีสันสวยงามใต้ทะเลเช่นเดียวกับกิจกรรมดำน้ำตื้น แต่กิจกรรมดำน้ำลึกนี้
นักดำน้ำต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บริเวณที่ควรจัดกิจกรรมดำน้ำเพื่อนันทนาการควรมีความลึกประมาณไม่เกิน
30 เมตร โดยเป็นแหล่งของปะการังหลายชนิดที่ยังอุดมสมบูรณ์และสวยงาม มีพืช
และสัตว์ใต้ทะเลประเภทอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ กระแสน้ำไม่รุนแรงและน้ำใสสะอาด
เมื่อจบหลักสูตรนักดำน้ำกู้ภัยแล้ว นักดำน้ำยังสามารถเลือกเรียนต่อได้สองทาง
ทางแรก คือ เรียนการดำน้ำแบบพิเศษ ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายอย่าง เช่น นักดำน้ำลึก นักดำน้ำในเรือจม ดำน้ำกลางคืน ดำน้ำในกระแสน้ำ ฯลฯ อีก 5 สาขา จะทำให้นักดำน้ำจบเป็น Master Scuba Diver ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการเป็น นักดำน้ำแบบนันทนาการ
ทางที่สอง คือ เรียนหลักสูตรการเป็นผู้ควบคุมการดำน้ำ (Divemaster) ซึ่งจะทำให้สามารถไปเรียนต่อเป็นผู้สอนดำน้ำได้
การดำน้ำลึกแบบ Snuba (Self Non-contained Underwater Breathing Apparatus) เป็นการดำน้ำแบบใหม่ที่ใช้อากาศ จากบนผิวน้ำแทนการพกถังอากาศลงไปใต้น้ำ โดยใช้อุปกรณ์ดำน้ำ พื้นฐานแค่ หน้ากาก ตีนกบ เข็มขัดถ่วงน้ำหนัก และท่ออากาศ ยาวไม่เกิน 6 เมตร ต่อเข้ากับเครื่องส่งหรือถังอากาศที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำด้วยทุ่นลอย ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ตามแรงดึงของคนที่ลงไปดำน้ำ การดำน้ำแบบ Snuba เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มี C-card ของสถาบันดำน้ำ แต่อยากจะทดลองใช้เครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ หรืออยากจะชมความงามใต้ท้องทะเล ซึ่งจะคล้ายกับ Sea Walker แต่ Snuba ต้องใส่ตีนกบ แล้วว่ายไปเรื่อยๆ แต่ Sea Walker ไม่ต้องใส่ตีนกบ
ทางกรมการท่องเที่ยวได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานให้ผู้ประกอบการ และเจ้าของพื้นที่กิจกรรมดำน้ำได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกิจการให้อยู่ในระดับ มาตรฐานสากล เพื่อรับรองความปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว ที่มาดำน้ำ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที http://www.tourism.go.th
ก่อนการดำน้ำ ควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยไม่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ทั้งทางนิตยสาร รวมทั้งสถาบันดำน้ำหลักๆ เกือบทุกแห่งแนะนำว่าการเรียนจบชั้นการกู้ภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าการเรียนการกู้ภัยเท่านั้นที่จะทำให้นักดำน้ำมีความพร้อมที่จะสังเกตและป้องกันปัญหาก่อนที่ จะเกิดขึ้น รวมทั้งการจัดการปัญหาเมื่อมีอุบัติเหตุได้
แหล่ง | จังหวัด | ฤดูท่องเที่ยว | ประเภท | ทะเล | |
---|---|---|---|---|---|
18 | เกาะรอบๆ พัทยา |
ชลบุรี | พ.ย. - เม.ย. | ดำน้ำลึก | ทะเลตะวันออก |
19 | เกาะหวาย | ตราด | พ.ย. - เม.ย. | ดำน้ำตื้น | ทะเลตะวันออก |
20 | หมู่เกาะชุมพร | ชุมพร | เม.ย. - ต.ค. | ดำน้ำตื้นและลึก | อ่าวไทย |
21 | เกาะเต่า | สุราษฎร์ธานี | เม.ย. - ต.ค. | ดำน้ำตื้นและลึก |
อ่าวไทย |
22 | หมู่เกาะสุรินทร์ | พังงา | เม.ย. - ต.ค. | ดำน้ำตื้นและลึก | อันดามัน |
23 | หมู่เกาะสิมิลัน | พังงา | พ.ย. - เม.ย. | ดำน้ำตื้นและลึก | อันดามัน |
24 | หมู่เกาะพีพี | กระบี่ | พ.ย. - เม.ย. |
ดำน้ำตื้น | อันดามัน |
25 | เกาะเฮ-เกาะราชา | ภูเก็ต | พ.ย. - เม.ย. |
ดำน้ำตื้นและลึก |
อันดามัน |
26 | เกาะกระดาน | ตรัง | พ.ย. - เม.ย. | ดำน้ำตื้น | อันดามัน |
27 | หมู่เกาะตะรุเตา- อาดัง-ราวี |
สตูล | พ.ย. - เม.ย. | ดำน้ำตื้นและลึก | อันดามัน |