language Amazing Thailand
คายัค แคนู

ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในแถบทวีปอเมริกา แคนาดาและยุโรป ได้ใช้เรือแคนูและคายัคสัญจรไปมาเพื่อการติดต่อคมนาคม และดำรงชีวิตตามลำน้ำและตามท้องทะเล ต่อมามีการนำเรือแคนูและคายัคมาใช้ในการกีฬาและการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยการพายเรือคายัคหรือเรือแคนูถูกจัดไว้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวประเภทเชิงนิเวศและผจญภัยที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มนักท่องเที่ยว เพราะความตื่นเต้นท้าทายในการการนำไปใช้สำรวจหรือชมทัศนียภาพตามชายฝั่งทะเล หมู่เกาะ บริเวณป่าชายเลน บึง และแม่น้ำลำคลองที่ไม่มีเกาะแก่ง รวมถึงในบริเวณน้ำนิ่ง เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อนเก็บกักน้ำต่างๆ หรือใช้พายสำรวจถ้ำโดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สถานที่พักส่วนใหญ่จัดอุปกรณ์ไว้ให้บริการสำหรับแขกที่มาพัก มีทั้งให้บริการฟรี และคิดเป็นค่าเช่ารายชั่วโมงหรือรายวัน เพื่อให้แขกพายเล่น ชมธรรมชาติ

ประเภทของเรือคายัค-แคนู

ในประเทศไทยเรือที่ให้บริการกับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นเรือคายัค ซึ่งมี 2 ลักษณะ

 เรือคายัคแบบ Sit-on-top
เป็นคายัครูปแบบใหม่ที่ได้พัฒนาให้พายได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ข้อดีคือจะไม่จมน้ำเนื่องจาก ตัวเรือจะถูกปิดหมด โดยผู้พายจะนั่งอยู่ด้านบนของเรือ ลำเรือจะมีรูระบายน้ำเพื่อให้น้ำที่สาดกระเซ็นเข้ามาสามารถระบายออกไปได้ ใช้พายเล่นท่องเที่ยวระยะใกล้ ล่องแก่งในระดับเริ่มต้น หรือเพื่อการพักผ่อน และนันทนาการครอบครัว มีตั้งแต่แบบ 1 ที่นั่งถึง 3 ที่นั่งพร้อมช่องเก็บสัมภาระ มีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการใช้งานในทะเล

 เรือคายัคแบบ Sit-inside
เป็นคายัครูปแบบดั้งเดิมที่ผู้พายจะต้องสอดตัวเข้าไปในเรือ โดยมีผ้าคลุมปิดเพื่อป้องกันน้ำเข้าเรือ ซึ่งเหมาะกับใช้ท่องเที่ยวระยะไกล (Touring) หรือล่องแก่งที่มีระดับความยาก 3-5

 เรือแคนู Canoe
เป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางของชาวอินเดียแดง ลักษณะ โครงสร้างของเรือค่อนข้างโปร่ง ด้านบนของตัวเรือเปิดโล่ง ส่วนหัวและส่วนท้ายของเรือแคนูจะมีลักษณะงอนขึ้นเพื่อที่จะสามารถแหวกคลื่นน้ำไปได้ดี และทำให้น้ำเข้าเรือได้น้อยที่สุด จากลักษณะของโครงสร้างที่โปร่งทำให้สามารถบรรทุกของได้เป็นจำนวนมาก

7 greens ad
Thailand Tourism Standard

มาตรฐานของกิจกรรมพายเรือคายัค-แคนู

ทางกรมการท่องเที่ยวได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานให้ผู้ประกอบการ และเจ้าของพื้นที่กิจกรรมพายเรือคายัค-แคนูได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกิจการให้อยู่ใน ระดับมาตรฐานสากล เพื่อรับรองความปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจให้กับ นักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tourism.go.th

ข้อควรปฏิบัติในการพายเรือคายัค-แคนู

ก่อนอนจะไปพายเรือคายัค-แคนูควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยไม่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

การกู้ภัย การช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุ

เนื่องจากกิจกรรมประเภทนี้จะทำอยู่ในพื้นที่น้ำนิ่ง การกู้ภัยจะได้ค่อนข้างง่ายกว่าการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกิจกรรมล่องแก่ง ซึ่งจะอิงมาตรฐานการกู้ภัยทางน้ำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นลำดับความสำคัญในการกู้ใครและอะไรก่อนจะเริ่มจากกู้ “คน” ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงกู้ “เรือ” และตามด้วยกู้ “อุปกรณ์และเครื่องมือ”
    วิธีการช่วยผู้ประสบภัย
  • การยื่นมือหรือพายให้เกาะเป็นวิธีที่เร็วที่สุด
  • หากอยู่ไกลเกินเอื้อม ควรใช้วิธีโยนเชือกให้ผู้ประสบภัยจากฝั่งหรือจากเรือ ซึ่งต้องยึดหลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ
    - การสื่อสารกับผู้รอรับการช่วยเหลือด้วยสายตาหรือภาษามือ
    - ดูตำแหน่งของริมฝั่งที่จะกู้ผู้ประสบภัยที่เหมาะสม
    - การโยนเชือกที่แม่นยำ
  • การนั่งเรือเข้าไปช่วยเหลือถึงตัว
  • ขอความช่วยเหลือโดยการเรียกเฮลิคอปเตอร์หย่อนเชือกลงไปช่วย้

เส้นทางการพายเรือคายัค-แคนู

  แหล่ง จังหวัด ฤดูท่องเที่ยว ประเภท
42 แม่น้ำโขง
เลย พ.ย. - เม.ย. น้ำจืด
43 เกาะกูด ตราด พ.ย. - เม.ย. น้ำทะเล
44 หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี เม.ย. - ต.ค. น้ำทะเล
45 เขื่อนรัชชประภา สุราษฎร์ธานี เม.ย. - ต.ค. น้ำจืด
46 หมู่เกาะทะเลใต้ นครศรีธรรมราช เม.ย. - ต.ค. น้ำทะเล
47 เกาะห้อง กระบี่ พ.ย. - เม.ย. น้ำทะเล
48 บ้านบ่อท่อ กระบี่ พ.ย. - เม.ย.
น้ำทะเล
49 อ่าวท่าเลน กระบี่ พ.ย. - เม.ย.
น้ำทะเล