ช้างไทย เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและผูกพันกับชีวิตของคนไทยมานาน เปรียบประดุจเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับบรรพบุรุษเพื่อปกป้องเอกราชของชาติมาตั้งแต่ในอดีตกาล จนได้รับการยกย่องให้เป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติไทย มาตั้งแต่รัชกาลที่ 2
นอกจากนี้ช้างไทยยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยเหลือหล่อเลี้ยงชีวิตชนชาวสยาม เช่น ใช้ช้างในการคมนาคมขนส่ง ขนผลผลิตให้เกษตรกร ช่วยลากซุงลากไม้เพื่อนำไม้มาสร้างบ้านเรือน ก่อให้เกิดการดำรงอยู่ระหว่างมนุษย์กับช้างที่หลอมรวมเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและงดงาม
ต่อมารัฐบาลประกาศปิดสัมปทานป่าเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ทำให้ช้างที่เคยทำงานลากซุงไม่มี งานทำอีกต่อไปจำเป็นที่จะต้องปรับวิถีความเป็นอยู่ให้เข้ากับสภาวะที่เปลี่ยนไป จึงเกิดแนวคิดการเปลี่ยน ช้างงานมาเป็นช้างเพื่อการท่องเที่ยว โดยจัดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวผจญภัยเชิงนิเวศ เปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมเยือน ได้สัมผัสความน่ารักแสนรู้และความสำคัญของช้างไทยผ่านรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละปางช้าง เช่น การนั่งช้างท่องไพร การเรียนรู้เป็นควาญช้าง และการแสดงต่างๆ ที่ทำให้คุณต้องประทับใจ ภูมิใจ และรู้สึกอัศจรรย์ไปกับเจ้าตัวใหญ่ใจดีนี้
สิ่งหนึ่งที่ทำให้กิจกรรมนั่งช้างของไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่น คือภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูและการฝึกช้างที่ชื่อว่า “ตำราคชศาสตร์” ซึ่งถูกถ่ายทอดจากควาญช้างรุ่นต่อรุ่นสืบต่อกันมาเป็นเวลากว่าศตวรรษ เพื่อยึดเป็นหลักปฏิบัติในการฝึกสื่อสารกับช้างและดูแลช้างอย่างถูกต้อง เริ่มตั้งแต่การขึ้นช้าง ฝึกเป็นควาญช้าง พาช้างอาบน้ำ ให้อาหารช้าง คลุกคลีอยู่กับช้าง สอนวิธีบังคับช้างที่ถูกต้อง และสร้างความเข้าใจในการเลี้ยงช้างอย่างถูกวิธี ภาพแห่งความผูกพันระหว่างช้างกับควาญช้างสร้างความชื่นชมและยอมรับถึงความสามารถในการควบคุมสัตว์ใหญ่ที่สุดในโลกได้เป็นอย่างดีของควาญช้างไทย เพราะในสายตาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่คิดว่าช้าง คือ สัตว์ที่น่ากลัว ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่ตกมัน ช้างจะกลายเป็นสัตว์ป่าที่ดุร้ายอย่างมาก การนำช้างซึ่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่มาฝึกให้ทำกิจกรรมร่วมกับคนจึงเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากมากในประเทศอื่นๆ
กรมการท่องเที่ยว
ได้วางแนวทางและมาตรฐานให้ผู้ประกอบการปางช้างเพื่อรับรอง
ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว อาทิ ด้านโครงสร้างของปางช้างที่ประกอบด้วย
สถานที่ ช้างเลี้ยงและบุคลากร ด้านการบริหารและจัดการ ประกอบด้วย
สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว ฐานข้อมูล และ
การพัฒนาบุคลากรด้านการให้ความรู้ประกอบ และด้านการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เป็นต้น ผู้ประกอบกิจการปางช้างสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tourism.go.th
กรมปศุสัตว์
กลุ่มบำบัดรักษาโรคสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ได้มีการจัดมาตรฐานปางช้าง ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพของปางช้างให้ได้มาตรฐาน และเป็นการคุ้มครองนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย ด้านการบริการ ตลอดจนถึงการ
จัดการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพช้าง ทำให้ช้าง ควาญช้าง และผู้ประกอบการ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แหล่ง | จังหวัด | ฤดูท่องเที่ยว | กิจกรรม | |
---|---|---|---|---|
28 | ฟาร์มช้างภัทร | เชียงใหม่ | ตลอดปี | นั่งช้างท่องไพร |
29 | ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย | ลำปาง | ตลอดปี | นั่งช้างท่องไพร |
30 | ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง | สุรินทร์ |
ตลอดปี | นั่งช้างท่องไพร, เรียนรู้การเป็นควาญ, การแสดง |
31 | ปางช้างแม่น้ำรันตี | กาญจนบุรี |
ตลอดปี | นั่งช้างท่องไพร, เรียนรู้การเป็นควาญ |
32 | ปางช้างชุติมันต์ เกาะช้าง | ตราด |
พ.ย. - เม.ย. |
นั่งช้างท่องไพร, เรียนรู้การเป็นควาญ, การแสดง |
33 | หัวหินฮิลล์ วินยาร์ด | ประจวบคีรีขันธ์ |
ม.ค. - มี.ค. | นั่งช้างไร่องุ่น |
34 | เขาสก | สุราษฎร์ธานี | พ.ย. - เม.ย. |
นั่งช้างท่องไพร |
35 | อเมซิ่ง บูกิ๊ต ซาฟารี | ภูเก็ต | ตลอดปี |
นั่งช้างท่องไพร |