เมืองไทยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนท่ามกลางผืนป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้และสัตว์ป่า ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นต้นกำเนิดของเส้นทางสายน้ำที่สำคัญ ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านจะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำโดยการใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นแพล่องลำน้ำ อาจถือได้ว่าเป็นพาหนะทางน้ำอันแรกของประเทศไทย โดยภายหลังได้มีการพัฒนาให้เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยเชิงนิเวศ “ล่องแก่ง” ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นทั้งจากในและต่างประเทศ เพราะให้ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และท้าทายความสามารถของนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังได้เห็นทัศนียภาพธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงามทั้งสองฝั่งลำน้ำสร้างความเบิกบานใจให้แก่ผู้ที่จำเจจากภารกิจประจำวัน
ปัจจุบันได้มีการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานตามสากลเพื่อความปลอดภัยและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีการนำเรือยางเข้ามาใช้ทดแทนการสร้างแพจากไม้ไผ่ซึ่งเป็นวิถีทางท่องเที่ยวใหม่ที่ หยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอุทยานฯ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่แหล่งล่องแก่งส่วนใหญ่ในเรื่องความปลอดภัยและการกู้ภัย
มีแก่งเล็กน้อยสายน้ำไหลเอื่อยๆ แต่มีความเร็วพอประมาณที่จะทำให้เรือและแพลอยไปเองได้ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มล่องแก่งเป็นครั้งแรก
กระแสน้ำไหลแรงขึ้น เวลาปะทะกับแก่งหินใต้น้ำจะเกิดเป็นคลื่นฟองขาวมีขนาดไม่ใหญ่นัก ต้องใช้เทคนิคหรือทักษะในการพายเรือพอสมควร
กระแสน้ำมีความเร็วและปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดคลื่นใหญ่แตกตัวเป็นฟองขาว ช่วงที่มีแก่งและโขดหินจะทำให้เกิดกระแสน้ำหมุนวน หากเรือล่มหรือพลัดตกน้ำยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ถ้าว่ายน้ำเป็นและสวมอุปกรณ์ชูชีพครบ
มีแก่งที่แยกสายน้ำออกเป็นหลายๆ สาย ปริมาณน้ำมาก ทำให้เกิดกระแสน้ำปั่นป่วนรุนแรง บางแห่งน้ำลดระดับลงประมาณ 1 เมตร ใต้น้ำมีโขดหิน ทำให้เกิดกระแสน้ำวนอยู่ด้านล่าง ดูดเรือให้หมุนวนอยู่กับที่ได้ การกู้ภัยอาจทำได้ยาก
กระแสน้ำไหลเชี่ยว มีแก่งหินใหญ่ โขดหินขวางสายน้ำและมีน้ำตกที่มีความต่างระดับสูง 1-2 เมตร เป็นระยะๆ ทำให้เกิดคลื่นน้ำเป็นระลอกใหญ่และกระแสน้ำวนเบื้องล่างรุนแรงมากติดต่อยาวตลอด ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายบังคับเรือสูง การกู้ภัยอาจทำได้ยากและอาจถึงขั้นต้องบาดเจ็บเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ทางกรมการท่องเที่ยวได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานให้ผู้ประกอบการ และเจ้าของพื้นที่กิจกรรมล่องแก่งได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกิจการให้อยู่ในระดับ มาตรฐานสากล เพื่อรับรองความปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว ที่มาล่องแก่ง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tourism.go.th
ก่อนจะไปล่องแก่งควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยไม่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
แหล่ง | จังหวัด | ฤดูท่องเที่ยว | ระดับแก่ง | ใช้เวลาล่อง | |
---|---|---|---|---|---|
1 | แม่น้ำปาย | แม่ฮ่องสอน | ตลอดปี | 3-4 | 6 ชั่วโมง |
2 | สายน้ำแม่แตง | เชียงใหม่ | ตลอดปี | 2-5 | 2.5 ชั่วโมง |
3 | ลำน้ำว้า | น่าน | พ.ค. - ต.ค. พ.ย. - ก.พ. |
3-5 3-4 |
3 ชั่วโมง ถึง 3 วัน |
4 | ลำน้ำสาน | เลย | มิ.ย. - ต.ค. | 1-5 |
3 ชั่วโมง |
5 | ลำน้ำเข็ก | พิษณุโลก | พ.ค. - ต.ค. พ.ย. - ก.พ. มี.ค. - พ.ค. |
4-5 3-4 2-3 |
2-3 ชั่วโมง |
6 | อุ้งผางคี/ทีลอซู | ตาก | พ.ย. - พ.ค. | 3-4 | 4 ชั่วโมง |
7 | เส้นทางน้ำตกทีลอเล | ตาก | พ.ย. - พ.ค. |
3-4 | 6 ชั่วโมง |
8 | ลำห้วยแม่เรวา | นครสวรรค์ | ตลอดปี |
2-3 |
1.5 ชั่วโมง |
9 | ภูเกาะ | สระบุรี | ต.ค. - ม.ค. | 1-3 |
1.5 ชั่วโมง |
10 | แม่น้ำนครนายก | นครนายก | ก.ค. - ต.ค. | 2-3 |
2 ชั่วโมง |
11 | แก่งหินเพิง | ปราจีนบุรี | มิ.ย. - ต.ค. |
3-5 | 2 ชั่วโมง |
12 | คลองโป่งน้ำร้อน | จันทบุรี | มิ.ย. - พ.ย. |
1-3 | 2-3 ชั่วโมง |
13 | อ. พะโต๊ะ | ชุมพร | ตลอดปี | 3-4 | 3 ชั่วโมง |
14 | โตนปริวรรต | พังงา | ตลอดปี | 2-4 | 2 ชั่วโมง |
15 | คลองกลาย | นครศรีธรรมราช | ตลอดปี | 1-3 | 3 ชั่วโมง |
16 | หนานมดแดง | พัทลุง | ตลอดปี | 1-3 | 2 ชั่วโมง |
17 | คลองลำโลน | สตูล | ตลอดปี | 1-3 | 2 ชั่วโมง |